วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556



Sharp ประกาศเริ่มผลิตชิ้นส่วนหน้าจอที่มีความละเอียดสูงด้วยเทคโนโลยี IGZO (indium gallium zinc oxide) ซึ่งเทคโนโลยีนี้นอกจากจะทำให้หน้าจอมีความคมชัดมากกว่าเดิมถึง 2 เท่าแล้ว ยังใช้พลังงานน้อยลงจากเดิมถึง 90% อีกด้วย และนั่นก็หมายถึงการประหยัดแบตเตอรี่ตามมาด้วย แล้วถ้าแบตเตอรี่ไม่ต้องใช้เยอะแล้ว 
ฐานการผลิตใหญ่ของ Sharp จะอยู่ที่โรงงาน Kameyama ประเทศญี่ปุ่น 
 IGZO สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์หลายขนาดทั้งแท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก และหน้าจอ LCD เช่น


panel แบบใหม่ของทาง Sharp ผลิตขึ้นมาเผื่อเป็นจอสำหรับ โทรศัพท์ และ แท็บเล็ต 


iPad 5


iPhone 5S

Apple TV

iPad 3

ก็ถือเป็นก้าวต่อไปของเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการปฏิวัติหน้าจอแบบเดิมที่เราอาจจะได้มีโอกาสได้ใช้กันในอนาคตอันใกล้นี้ และ Sharp รวมถึงผู้ผลิตรายอื่นก็คงจะไม่หยุดพัฒนาไว้เท่านี้ คงต้องมีการวิจัยค้นหาอะไรใหม่ๆ มานำเสนออีกแน่นอน แต่สิ่งหนึ่งที่เริ่มเห็นแล้วก็คือการลดพลังงานลง ถือเป็นเรื่องดีที่เราจะได้ใช้เทคโนโลยีที่ดี พร้อมยังช่วยประหยัดพลังงานรักษ์โลกไปด้วยพร้อมกัน
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่:http://www.youtube.com/watch?v=SnUUXoFsjoY

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ เเละการจัดการ

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ เเละการจัดการ                                                                                                                                   

1.ข้อมูลและสารสนเทศ                                                                                                
     1.1) ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น บันทึกข้อความ,รายงานการประชุม



   1.2) สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เช่น การหาค่าเฉลี่ย





      1.3) ลักษณะของข้อมูลที่ดี ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
>>มีความถูกต้องและแม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้

>>มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์กระชับและชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพเกิดความน่าเชื่อถือ


>>ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก

>>ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด




      1.4) ชนิดเเละลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้เเก่
>>ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) คือ ข้อมูลที่ใช้เเทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปเเบบคือ เลขจำนวนเต็ม เเละ เลขทศนิยม

>>ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเเละไม่สามารถนำไปคำนวณได้ เเต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้



    1.5) ประเภทของข้อมูล 
เราสามารถเเบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆได้เเก่
>>ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากเเหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย เเละเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ


>>ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้เเล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้





2.กระบวนการจัดการสารสนเทศ เราสามารถเเบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ                
    2.1) การรวบรวมเเละตรวจสอบข้อมูล 
>>การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล

>>การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ซึ่งหากพบความผิดพลาดก็จะต้องเเก้ไขโดยอาจใช้สายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ





      2.2) การประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
>>การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานต่อไป

>>การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่เเล้ว ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรืออักขระเพื่อสะดวกเเละประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล

>>การสรุปผลข้อมูล หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลต่างๆเเล้ว ก็ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับเเละได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป





      2.3) การจัดเก็บเเละดูเเลรักษาข้อมูล ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
>>การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ

>>การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่ทำสำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที



      2.4) การเเสดงผลข้อมูล
>>การสื่อสารเเละเผยเเพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญเเละมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วเเละทันเวลา ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

>>การปรับปรุงข้อมูล หลังจากที่ได้เผยเเพร่ข้อมูลไปเเล้ว ก็ควรมีการติดตามผลตอบกลับ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงเเก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เเละควรจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการใช้งาน




3.ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
    3.1)ระบบเลขฐานสอง การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยเเทนตัวเลขศูนย์ เเละหนึ่ง โดยเเต่ละหลักจะเรียกว่า บิต เเละเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมาเรียงต่อกันเท่ากับ 1 ไบต์ จะใช้สร้างรหัสเเทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้ภาษาไทยเเละภาษาอังกฤษได้
    
     3.2)รหัสเเทนข้อมูล เพื่อให้การเเลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในเเนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสเเทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้น โดยมีรายละเอียดต่างๆดังนี้

>>รหัสเเอสกี (American Standard Code Information Interchange:ASCII) เป็นรหัสเเทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์ เเทนอักขระหรือสัญลักษณ์เเต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการเเทนอักขระเเต่ละตัวจะประกอบด้วยเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน

>>รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสเเทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางประเภเป็นตัวอักษรภาษาจีนเเละภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิตจะเเทนรูปเเบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปเเบบ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างรหัสใหม่ขึ้นมาเเทน โดยเเทนตัวอักขระได้ 65,536 ตัว เเละยังใช้เเทนสัญลักษณ์กราฟิกเเละสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อกด้วย



  3.3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในสื่อบันทึกจะต้องกำหนดรูปเเบบหรือโครงสร้างของข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานเเละคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
>>บิต (bit) คือตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล

>>ตัวอักขระ (character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆโดยตัวอักขระเเต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์

>>เขตข้อมูล (field) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อเเทนความหมายใดความหมายหนึ่ง

>>ระเบียบข้อมูล (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งเเต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป

>>เเฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งเเต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป

>>ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมเเฟ้มข้อมูลหลายๆเเฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน



4.จริยธรรมในการใช้ข้อมูล  
ประเด็นต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ข้อมูล มีดังนี้ 
-ความเป็นส่วนตัว (privacy) ก่อนที่จะเผยเเพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่งหากข้อมูลถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้เเก่เจ้าของข้อมูลได้

-ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนที่จะเผยเเพร่ข้อมูลใดๆควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการค้นหาใหม่

-ความเป็นเจ้าของ (property) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน ว่าได้รับอนุญาติจากเจ้าของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย

-การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันเเละรักษาความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว





คำถาม : รหัสเเทนข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ : 2 ประเภท มีรหัสเเอสกี เเละ รหัสยูนิโค้ด






บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร

1.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
         เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารประกอบด้วยสามคำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ"เเละ "การสื่อสาร" ซึ่งมีความหมาย ดังนี้

      
       เทคโนโลยี (Technology) การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ในการพัฒนา เครื่องมือ เครื่องจักรวัสดุ หรือ เเม้กระทั่งสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้

         
         
         สารสนเทศ (Information) ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆ  ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ







         การสื่อสาร (Communication) การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง จากบุคคลหนึ่ง หรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรืออีกสถานที่หนึ่ง


เทคโนโลยีสารสนเทศ
  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)มาจากคำว่า "เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ" เชื่อมต่อกัน ซึ่งหมายถึง การนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ เเละก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน


เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
   เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เมื่อนำคำทั้งสามคำมาเชื่อมต่อกันจะมีความหมาย คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารเเละโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ เเละจัดเก็บสื่อสารสารสนเทศในรูปเเบบต่างๆ


2.ระบบสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศ (Information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ เเละจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ


1.)ฮาร์ดเเวร์
     ฮาร์ดเเวร์ (hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เเละอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ เนื่องจากสามารถทำงานได้รวดเร็ว เเม่นยำ เเละการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น จอภาพ (Monitor),เมาส์ (Mouse)


2.)ซอฟต์เเวร์
    ซอฟต์เเวร์ (Software) เป็นโปรเเกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์เเละอุปกรณ์ต่อพวงต่างๆ ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ สามารถทำได้ ซึ่งเเบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
        

2.1)ซอฟต์เเวร์ระบบ
      ซอฟต์เเวร์ระบบ (System software) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์เเละซอฟต์เเวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นการทำงานต่างๆได้ เช่น วินโดวส์ (Windows),ลินุกซ์ (Linux)


2.2)ซอฟต์เเวร์ประยุกต์
       ซอฟต์เเวร์ประยุกต์ (Application software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานตามความต้องการของผู้ใช้เเต่ละคน เช่น ซอฟต์เเวร์ประมวลคำ (Word processor),ซอฟต์เเวร์ตารางทำงาน(Spreadsheet)



3.)ข้อมูล
    ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง เเม่นยำ เเละเชื่อถือได้โดยจะถูกรวบรวมเเละป้อนเข้าสู่เครื่อ'คอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น เมาส์,สเเกนเนอร์,ไมโครโฟน


4.)บุคลากร
       บุคลากร (people) จะต้องมีความรู้เเละ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยเเบ่งออกเป็นผู้พัฒนาเเละผู้ใช้ระบบสารสนเทศ (User) ซึ่งผู้พัฒนาจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ 


5.)ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
     ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบเเละวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน(User manual)อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ เช่น ขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ


       ส่วนประกอบทั้งห้านี้ล้วนมีส่วนสำคัญ หากขาดส่วนประกอบใดหรือส่วนประกอบใดไม่สมบรูณ์ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศนั้นขาดความสมบรูณ์ได้ เช่น การเชื่อมต่อของจอภาพกับคอมพิวเตอร์ไม่สมบรูณ์


3.ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
      การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้


1.)ด้านการศึกษา
       ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ระบบการลงทะเบียน,การจัดตารางการเรียนการสอน


2.)ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
     ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์(Hand disk),แผ่นซีดีรอม (CD – Rom)


3.)ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
        การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ,การส่งข้อความถึงกันด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์





4.)ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
       การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น เช่น การวิจัย,งานด้านวิศวกรรมศาสตร์



5.)ด้านความบันเทิง
       รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพ และเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพได้สะดวก และรวดเร็ว จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น การชมรายการโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต,การเล่นเกมออนไลน์

          นอกจากประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่กล่าวมานั้น ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ด้านสิ่งพิมพ์,ด้านการเงินการธนาคาร,ด้านกาแพทย์และสาธารณสุข 


4.แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4.1)เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

4.2)มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

4.3)อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัด และราคาถูกมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

4.4)การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์

4.5)ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น


4.6)หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น


   แนวโน้มด้านอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อประโยชน์ในอนาคต


5.ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5.1)พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้

5.2)การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพน้อยลงตามไปด้วย

5.3)การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น

5.4)ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผิดกฎหมาย และละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น

5.5)การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย

5.6)เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือขยะอิเล็กทรอนิกส์


    ผลกระทบด้านอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย แต่สิ่งสำคัญก็คือผู้คนในสังคมจะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่างๆเหล่านี้


6.อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

6.1)นักเขียนโปรแกรม หรือ โปรแกรมเมอร์(Programmer)  ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ


6.2)นักวิเคราะห์ระบบ(System analyst)ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ


6.3)ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล(Database administrator)ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล


6.4)ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย(Network administrator)ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย

6.5)ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์(Webmaster)ทำหน้าที่ ดูแลและคอยควบคุมทิศทางของเว็บไซต์ตั้งแต่เนื้อหาภายในเว็บไปจนถึงหน้าตาของเว็บเพจ


6.6) เจ้าหน้าที่เทคนิค(Technician)ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์

นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอีกมากมาย เช่น ผู้ดูแลและบริหารระบบ , นักเขียนเกม, นักออกแบบเว็บไซต์, นักพัฒนาเครื่องมือ, นักประชาสัมพันธ์


โปรแกรมเมอร์


เกมออนไลน์